เมนู

[312] ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง 4 จำพวก ซึ่งมีเดชกล้า
กลัวเพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกทั้ง 5 และกลัวเพชฌฆาตคนที่ 6 ซึ่งเที่ยวไป
ในอากาศ เงื้อดาบอยู่ จึงหนีไปในที่อื่น เขาพบบ้านร้างเข้า จึงเข้าไปยัง
เรือนร้างว่างเปล่าหลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง ชนทั้งหลาย
พึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านบุรุษ มีโจรทั้งหลายคอยฆ่าชาวบ้าน เข้ามา
บ้านร้างนี้เสมอ กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย.
[313] ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง 4 กลัวเพชฌฆาตทั้ง 5
กลัวเพชฌฆาตคนที่ 6 และกลัวโจรผู้คอยฆ่าชาวบ้าน จึงหนีไปในที่อื่น
เขาไปพบห้วงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ มีภัยอันตราย ฝั่งข้าง
โน้นเป็นที่เกษมปลอดภัย เรือแพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นไม่มี.
[314] ครั้งนั้น บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่นัก
ฝั่งข้างนี้เป็นที่น่ารังเกียจ มีภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัย
เรือแพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นก็ไม่มี ผิฉะนั้น เราควรจะมัดหญ้า
ไม่ กิ่งไม้และใบไม้ ผูกเป็นแพ เกาะแพนั้น พยายามไปด้วยมือและด้วย
เท้า ก็พึงถึงฝั่งโน้นได้โดยความสวัสดี ครั้นแล้ว บุรุษนั้นทำตามความคิด
อย่างนั้น ก็ข้ามฟากถึงฝั่งข้างโน้นแล้ว ขึ้นบกไปเป็นพราหมณ์.

ว่าด้วยอสรพิษ 4 เป็นชื่อของมหาภูตรูป 4


[315] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ เราทำขึ้นเพื่อจะให้เข้าใจ
เนื้อความโดยง่าย ในข้อนั้นมีเนื้อความดังนี้ คำว่า อสรพิษที่มีเดชกล้า
ทั้ง 4 จำพวกนั้น เป็นชื่อแห่งมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุดิน ราตุน้ำ ธาตุไฟ

ธาตุลม คำว่า เพชฌฆาตทั้ง 5 คนที่เป็นข้าศึกนั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทาน
ขันธ์ 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
คำว่า เพชฌฆาตคนที่ 6 ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบอยู่นั้น เป็นชื่อ
แห่งนันทิราคะ คำว่า บ้านร้างนั้นเป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน 6.
[316] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่-
ครวญอายตนะภายใน 6 นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่า
เป็นของว่าง เปล่า สูญทั้งนั้น.
คำว่า โจรผู้ฆ่าชาวบ้านนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก 6 ตา
ย่อมเดือดร้อนเพราะรูปที่เป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะ
เสียงเป็นที่พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจ
และไม่พอใจ ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อม
เดือดร้อนเพราะโผฏฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะ
ธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่ง
โอฆะทั้ง 4 คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้
อันเป็นที่น่ารังเกียจ มีภัยอันตรายนั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า
ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้นเป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น
เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่งวิริยารัมภะ คำว่า ข้าม
ฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไปเป็นพราหมณ์ เป็นชื่อแห่งพระอรหันต์.
จบ อาสีวิสสูตรที่ 1

อาสีวิสวรรคที่ 4


อรรถกถาอาสีวิสสูตรที่ 1


อาสีวิสวรรค อาสีวิสสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
ภิกษุเหล่าโยคาวจรผู้ชอบจาริกไปรูปเดียว 2 รูป 3 รูป 4 รูป 5 รูป ผู้มี
ความประพฤติต้องกัน ผู้ปฏิบัติ ผู้ขะมักเขม้น แม้ทุกรูป ซึ่งนั่งล้อมเหล่า
ภิกษุผู้บำเพ็ญกรรมฐานมีทุกขลักษณะเป็นอารมณ์ แท้จริงพระสูตรนี้ ตรัส
ด้วยอัธยาศัยของบุคคล. จริงอยู่ ในบรรดาบุคคลทั้งหลาย ตรัสด้วยอำนาจ
เหล่าภิกษุอุคฆฏิตัญญูบุคคลที่อยู่ในที่ต่าง ๆ ผู้บำเพ็ญกรรมฐาน มีทุกข-
ลักขณะเป็นอารมณ์ ซึ่งมาในเวลาเฝ้า นั่งแวดล้อมพระศาสดา แม้เมื่อ
เป็นอย่างนั้น. ข้อนี้จึงเป็นปัจจัย แก่บุคคล 4 เหล่ามีอุคฆฏิตัญญูบุคคล
เป็นต้น.
จริงอยู่ อุคฆฏิตัญญูบุคคล จักบรรลุพระอรหัตด้วยยกหัวข้อแห่ง
พระสูตรขึ้นเท่านั้น. วิปจิตัญญูบุคคล บรรลุพระอรหัต ด้วยการแจกหัวข้อ
ธรรมโดยพิสดาร เนยยบุคคลท่องบ่นพระสูตรนี้เท่านั้น ใส่ใจโดย
แยบคาย คบทาเข้าใกล้กัลยาณมิต จึงจักบรรลุพระอรหัต สำหรับปทปรม-
บุคคล พระสูตรนี้ จักเป็นวาสนาเครื่องอบรมบ่มบารมีในอนาคตแล ด้วย
ประการดั่งว่ามานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าพระองค์ทรงมีอุปการะ
แก่สัตว์แม้ทุกหมู่เหล่า ทรงเป็นประหนึ่งยกภูเขาสิเนรุขึ้น ประหนึ่งทำ
อากาศให้กว้างขวาง และประหนึ่งทำภูเขาจักรวาลให้หวั่นไหว จึงเริ่ม
อาสีวิสสูตรนี้ ด้วยความอุตสาหะอย่างใหญ่ ว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว.